หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบ ความก้าวหน้าของประเทศชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์คิด และสร้างขึ้นเพื่อการดำรงชีวิต
วัฒนธรรมไทย จึงหมายถึง ทุกสิ่งอย่างที่คนไทยคิด และสร้างขึ้น เพื่อการดำรงชีวิตร่วมกัน เป็นสิ่งที่มีระเบียบแบบแผน มีรูปแบบเป็น ที่ยอมรับกันภายในสังคมไทย และเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอด ตามเวลาและสถานที่
วัฒนธรรมไทยในภาคต่างๆ ของไทย อาจแบ่งเป็นสาขาใหญ่ๆ ได้ ดังนี้
มรดกทางวัฒนธรรม คือ หลักฐานเกี่ยวกับการดำรงชีพของบรรพบุรุษในอดีต ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และเอกสารตำนานต่างๆ
วัฒนธรรมทั่วไป คือ เอกลักษณ์และรูปแบบในการดำรงชีพของภาคนั้นๆ เช่น การทำมาหากิน ความเป็นอยู่ ภาษา กิริยามารยาท ศาสนาและความเชื่อต่างๆ ศิลปกรรม รูปแบบทางสังคม เช่น ครอบครัว เป็นต้น
ภูมิปัญหาและเทคโนโลยี คือ ความรู้ความสามารถของคนในสังคม ทั้งด้านการประดิษฐ์ คิดค้น สร้างสรรค์ เพื่อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เช่น ศิลปะการต่อสู้ การใช้สมุนไพรรักษาโรค เพลงพื้นบ้าน หรือการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ เป็นต้น
ความเหมือนหรือความแตกต่างของวัฒนธรรมในแต่ละภาคของประเทศไทย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิอากาศ
อิทธิพลเรื่องความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น
แต่ไม่ว่าเป็นวัฒนธรรมของภาคใด ล้วนเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษคิดค้น และถ่ายทอดเป็นมรดก เพื่อคุณภาพ
ชีวิตที่ดีขึ้น วัฒนธรรมอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามความเหมาะสมของยุค
สมัย แต่อย่างไรก็ตามเราควร อนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงามเอาไว้ พร้อมกับการเลือกสรรวัฒนธรรมต่าง ชาติที่หลั่งไหลเข้ามาในดินแดนประเทศไทยในปัจจุบัน
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญา เพราะว่าภูมิปัญญา หมายถึงความรู้ ทักษะผลงานที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้น หรือดัดแปลง ขึ้น เพื่อดำรงชีวิตและถ่ายทอดความรู้สู่คนรุ่นต่อมา วัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ ถ้าวัฒนธรรมและภูมิปัญญาใด ไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมกับดำรงชีวิตในขณะนั้น ก็อาจไม่ได้รับ การปฏิบัติหรือสูญหายไป
วัฒนธรรมมีพื้นฐานจากสิ่งแวดล้อม ทั้งสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณี และศาสนา ความเชื่อ ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละภูมิภาค วัฒน ธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตมีทั้งวัฒนธรรมด้านวัตถุ เช่น สิ่ง ของเครื่องใช้ บ้านเรือน การแต่งกาย อาหารการกิน ภาษาและวัฒน ธรรมด้านจิตใจ เช่น ความเชื่อและศาสนา
วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของคนในภูมิภาคต่างๆ มีทั้งที่เหมือนกัน คล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน ซึ่งเกิดจากปัจจัยทางภูมิประเทศ ภูมิอากาศ การประกอบอาชีพ ความเชื่อ การนับถือศาสนาการรับวัฒนธรรม จากต่างถิ่น การสร้างสมวัฒนธรรมในท้องถิ่น ซึ่งเราควรเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมในท้องถิ่นของเรา เพื่อให้เกิด ความรัก ความภาคภูมิใจของตนเอง และช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงามเอาไว้ รวมทั้งเรียนรู้ถึงความแตก ต่างทางวัฒนธรรม และการดำรงชีวิตของผู้คนในภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น