4.วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นภาคใต้
1. ประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า หรือ ประเพณีลากพระ ช่วงเวลา วันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม 2 ค่ำ เดือน 11 จึงลากพระกลับวัด
ประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า หรือ ประเพณีลากพระ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ความสำคัญ
ประเพณีชักพระหรือลากพระนั้นเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวใต้ ที่ได้มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัย โดยสันนิษฐานว่าได้เกิดมีขึ้นครั้งแรกในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นประเพณีความเชื่อของพราหมณ์ศาสนิกชนและพุทธศาสนิกชน มีพุทธตำนานเล่าขานสืบทอดกันมาว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงได้ทรงกระทำยมกปาฏิหารย์ปราบเดียรถีย์ ณ ป่ามะม่วง กรุงสาวัตถี และได้เสด็จไปทรงจำพรรษา ณ ดาวดึงส์ เพื่อทรงโปรดพระพุทธมารดา จนพระพุทธมารดาได้ทรงสิ้นพระชนม์ลง จึงทรงได้เสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ เมื่อพระอินทร์ทรงทราบจึงได้นิมิตบันไดนาค บันไดแก้วและบันไดเงินทอดลงมาจากสรวงสวรรค์ เมื่อพุทธศาสนิกชนได้ทราบจึงพร้อมใจกันมาเฝ้ารับเสด็จที่หน้าประตูนครสังกัสสะ ในตอนเช้าของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 พร้อมกับได้จัดเตรียมภัตตาหารเพื่อถวายแด่พระพุทธองค์
พิธีกรรม
1. การแต่งนม
นมพระ หมายถึงพนมพระเป็นพาหนะที่ใช้บรรทุกพระลาก นิยมทำ 2 แบบ คือ ลากพระทางบก เรียกว่า นมพระ ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระ" นมพระสร้างเป็นร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับข้างล่าง ทำเป็นรูปพญานาค มีล้อ 4 ล้ออยู่ใต้ตัวพญานาค ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง ตกแต่งลวดลายระบายสีสวย รอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี ธงริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อยระยาง ประดับต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้สดทำอุบะห้อยระย้า มีต้มห่อด้วยใบพ้อแขวนหน้านมพระ ตัวพญานาคประดับกระจกแวววาวสีสวย ข้าง ๆ นมพระแขวนโพน กลอง ระฆัง ฆ้อง ด้านหลังนมพระวางเก้าอี้ เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ยอดนมอยู่บนสุดของนมพระ ได้รับการแต่งอย่างบรรจงดูแลเป็นพิเศษ เพราะความสง่าได้สัดส่วนของนมพระขึ้นอยู่กับยอดนม
2. การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ
พระลาก คือพระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยมคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระลากเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนนมพระ แล้วพระสงฆ์จะเทศนาเรื่องการเสด็จไปดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า ตอนเช้ามืดในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ชาวบ้านจะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า ตักบาตรหน้าล้อ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ ในตอนนี้บางวัดจะทำพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อให้การลากพระราบรื่น ปลอดภัย
พระพุทธรูปยืน
3. การลากพระ
ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น 2 สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน (ปืด) ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะเร้าใจในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง ตัวอย่าง บทร้องที่ใช้ลากพระสร้อย : อี้สาระพา เฮโล เฮโล ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมสาวสาว ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ
ประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า หรือ ประเพณีลากพระ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ประเพณีลากพระ เป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีพร้อมใจกันในการทำบุญทำทาน จึงให้สาระและความสำคัญดังนี้
1. ชาวบ้านเชื่อว่า อานิสงส์ในการลากพระ จะทำให้ฝนตกตามฤดูกาล เกิดคติความเชื่อว่า "เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก" นมพระจึงสร้างสัญลักษณ์พญานาค เพราะเชื่อว่าให้น้ำ การลากพระจึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตร
2. เป็นประเพณีที่ปฏิบัติตามความเชื่อว่า ใครได้ลากพระทุกปี จะได้บุญมาก ส่งผลให้พบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้นเมื่อนมพระลากผ่านหน้าบ้านของใคร คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยลากพระ และคนบ้านอื่นจะมารับทอดลากพระต่ออย่างไม่ขาดสาย
3. เกิดแรงบันดาลใจ แต่งบทร้อยกรองสำหรับขับร้องในขณะที่ช่วยกันลากพระ ซึ่งมักจะเป็นบทกลอนสั้น ๆ ตลก ขบขัน และโต้ตอบกัน ได้ฝึกทั้งปัญญาและปฏิภาณไหวพริบ
เรือพระ
เรือพระ คือ รถหรือล้อเลื่อนที่ประดับตกแต่งให้เป็นรูปเรือแล้ววางบุษบก ซึ่งภาษาพื้นเมืองของภาคใต้เรียกว่า "นม" หรือ "นมพระ" ยอดบุษบก เรียกว่า "ยอดนม" ใช้สำหรับอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานแล้วลากในวันออกพรรษา ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระน้ำ" ส่วนลากพระทางบก เรียกว่า "เรือพระบก" สมัยก่อนจะทำเป็นรูปเรือ ให้คล้ายเรือจริง ๆ และต้องทำให้มีน้ำหนักน้อยที่สุด จึงใช้ไม้ไผ่สานมาตกแต่งส่วนที่เป็นแคมเรือและหัวท้ายเรือคงทำให้แน่นหนา ทางด้านหัวและท้ายทำงอนคล้ายหัวและท้ายเรือ แล้วตกแต่งเป็นรูปพญานาค ใช้กระดาษสีเงินสีทองทำเป็นเกล็ดนาค กลางลำตัวพญานาคทำเป็นร้านสูงราว 1.50 เมตร เรียกว่า "ร้านม้า" ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ บุษบก ซึ่งแต่ละที่จะมีเทคนิคการออกแบบบุษบก มีการประดิษประดอยอย่างมาก หลังคาบุษบกนิยมทำเป็นรูปจตุรมุข ตกแต่งด้วยหางหงส์ ช่อฟ้า ใบระกา และทุกครอบครัวต้องเตรียม "แทงต้ม" เตรียมหาในกระพ้อ และข้าวสารข้าวเหนียวเพื่อนำไปทำขนมต้ม "แขวนเรือพระ"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น